ประเภทของหน่วยความจำ


        หน่วยความจำเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เก็บข้อมูลคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่ใช้สั่งงานซีพียูและข้อมูลหรือดาต้า (Data) ที่จะนำไปประมวลผล หน่วยความจำในระบบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ดังนี้

        1. หน่วยความจำ ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่อ่านอย่างเดียวบันทึกไม่ได้ โดยมีคุณสมบัติสามารถรักษาข้อมูลไว้ได้แม้ไม่ได้จ่ายไฟเลี้ยงข้อมูลก็ยังคงอยู่ไม่สูญหาย จึงใช้เก็บโปรแกรมสั่งงานที่ต้องการเก็บไว้ตลอดเวลาแม้ในช่วงไม่ได้ใช้เครื่อง หน่วยความจำประเภทนี้ยังแบ่งย่อยได้เป็น 4 ประเภท คือ
               1.1) ROM ที่ใส่โปรแกรมเข้ามาในตัวไอซีตั้งแต่ขบวนการผลิตจากโรงงาน
               1.2) PROM (Programmable ROM) ที่ผู้ใช้สามารถป้อนโปรแกรมเข้าไปได้เอง แต่จะป้อนได้เพียงครั้งเดียว
               1.3) EPROM (Erasable PROM) ที่ผู้ใช้สามารถใส่โปรแกรมเข้าไปได้เช่นเดียวกับPROMและสามารถล้างข้อมูลในตัวมันด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลต
               1.4) Flash ROM มีคุณสมบัติคล้าย EPROM แต่สามารถล้างแล้วโปรแกรมลงไปใหม่ได้ด้วยระบบไฟฟ้า จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

        2. หน่วยความจำ RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่อ่านและบันทึกได้ (Read Write Memory) แต่ไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้ถ้าตัดการจ่ายไฟเลี้ยง จึงมักใช้เก็บข้อมูลในระหว่างการประมวลผล หรือโปรแกรมทดสอบในระหว่างการพัฒนางาน หน่วยความจำแบบ RAM จะเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
               1.1) Static RAM หรือ เรียกย่อๆว่า SRAM หน่วยความจำประเภทนี้จะมีโครสร้างคล้าย วงจร ฟลิบฟลอบ คือข้อมูลจะยังคงตลอดเมื่อมีไฟเลี้ยงจ่ายให้
               1.2) Dynamic RAM หรือเรียกว่า DRAM จะมีลักษณะคล้ายตัวเก็บประจุ เมื่อมีการอ่านข้อมูลประจุที่เก็บไว้จะถูกคายออกมาและจะหมดไป ดังนั้นจึงต้องมีการเขียนข้อมูลซ้ำหรือที่เรียกว่ารีเฟรช (Refresh) อยู่เสมอ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย ข้อดีของ DRAM คือมีความหนาแน่นของเซลหน่วยความจำสูงกว่า SRAM ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ และ เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือต้องทำการรีเฟรชข้อมูลตลอดเวลาในระหว่างการทำงานจึงทำงานช้ากว่า SRAM และการต่อใช้งานค่อนข้างยุ่งยากกว่า มักใช้ในระบบขนาดใหญ่ที่ต้องการความจุของหน่วยความจำจำนวนมาก